ราชาของไม้ ที่ใช้ทำธนู

 

ธนูพิชัย ธนูไทย โบราณ ธนูไม้ลาน ถูกที่สุด ดีที่สุด ลุงนิด คุณพ่อพิชัย ศรีสัชนาลัย

 

ธนูพี่ ” ลาย ” นะ.. น้องจะทนยิงไหวเหรอ..

 

เห็นธนูคุณพ่อพิชัยบางคันแล้ว นักแม่นธนูหลาย ๆ ท่านรวมทั้งผู้เขียนก็อดไม่ได้ที่จะประท้วงคุณพ่อท่านว่าเอาไม้อะไรผุ ๆ ดูไม่ได้เลยหนอมาทำธนู ..ด้วยสายตา ( อันไร้แวว ) ที่แม้จะดูมุมไหน อย่างไร ยังไงแล้วก็ทนยอมรับ ” ลาย ” บนธนูไม้ลานคันนั้นไม่ได้ หรือรสนิยมเราอาจจะยังไม่ถึงขั้นหว่า ?

ครับ ใช่แล้ว.. ไม้นั้นต้องมีลายไม้ฉันใด ธนูไม้ย่อมมีลายฉันนั้น !

โอ้ว.. แต่นี่มันอาจจะมากไปไหม ? โดยเฉพาะไม้ที่จะเอามาทำธนู..

ตรงกันข้ามกับผู้เขียน.. คุณพ่อพิชัย ท่านกลับชื่นชอบไม้ลาย ๆ แบบนี้มาก

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ?

 

” ลาน ” ราชาของไม้ที่ใช้ทำธนู

 

เกิดและโตอยู่กลางป่า.. ดูไร้ค่าผู้คนเมินเฉย..

มิใช่ว่าผู้คนจะเมินเท่านั้น.. แต่ยังไม่กล้าจะเฉียดกายเข้าใกล้ดงต้นลานเหล่านั้นด้วย เพราะมันเต็มไปด้วยหนามอันแหลมคมราวกับฟันของจรเข้ ! ที่พร้อมจะฉีกเนื้อของผู้บุกรุกให้เหวอะหวะขาดกระเด็น ต้นลานและก้านของมันใหญ่โต แตกสาขากิ่งก้านไปพร้อมๆกับฟันเลื่อยคมกริบนับพันนับหมื่นซี่ ดูน่าสะพรึงกลัว ( ความน่ากลัวนี้ยังไม่นับรวมบรรดาพี่เสือโคร่งตัวใหญ่ ลายพาดกลอน ที่ชอบแอบซุ่มอยู่แถว ๆ บริเวณดงไม้นั่น )

 

มี “ชายชรา ” ท่านหนึ่งผู้ซึ่งดันแผลง ฝ่าดงหอกดงหนามเอาเนื้อมันมาทำ ” ธนู “

 

ท่านอธิบายไว้ว่า ” ไม้ลาน ” มันมีคุณสมบัติพิเศษตรงที่ ชั้นของเนื้อไม้ ซึ่งมีอยู่ถึง 3 ชั้นด้วยกัน คือเสี้ยน กระดูก และผิว ..ทั้งสามชั้นนี้มันทำหน้าที่แตกต่างกัน  และทำให้ธนูไม้ลานมีแรงดีดที่ดีกว่าธนูที่ทำจากไม้ประเภทอื่น ๆ แม้กระทั่งธนูสมัยใหม่บางคัน

ไม้ลานชั้นที่เป็นเสี้ยน มีลักษณะเป็นเส้นหรือเส้นใยอ่อนที่มีความยืดหยุ่น ทำหน้าที่สะสมพลังงานด้านแรงดีด ( พลังงานจลน์ ) ในขณะที่ชั้นกระดูกซึ่งมีสภาพเป็นเสี้ยนเหมือนกัน แต่มีสภาพแข็งกว่า แกร่งและคงตัวกว่า ทำหน้าที่สะสมพลังงานทางด้านกำลังกล ( พลังงานกล ) ส่วนชั้นผิวนั้นมีสภาพแข็ง มีความมันเงา เคลือบกันชั้นเสี้ยนต่าง ๆ เหล่านั้นมิให้แตกออกจากกัน โดยเฉพาะเวลาที่เราเหนี่ยวและปล่อยสายธนู

ใช่แล้วครับ.. วิทยาการวัสดุศาสตร์สมัยใหม่เรียกมันว่า ” ลามิเนชัน ” ( Lamination ) คือการเพิ่มประสิทธิภาพของวัสดุชิ้นเดียวกัน แต่ต่างชนิดกัน เช่นอ่อนกับแข็งหรือแข็งกับอ่อน ฯลฯ มาเรียงซ้อน อัด หลอม หรือตีทบกัน เพื่อให้มีคุณสมบัติใหม่ ๆ ที่แตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น ดาบซามูไร ที่มีการตีเหล็กพับทบไปทบมา นับพันนับหมื่นครั้งจนมีความบางแต่แข็งแกร่ง แม้กระทั่งสามารถตัดดาบเหล็กอื่น ๆ ให้ขาดจากกันก็ยังได้ ส่วนวัสดุจำพวกไม้ เรา ๆ ท่าน ๆ ก็คงจะรู้จัก ก้านธนู หรือที่เราเรียกกันว่า ” ลิ้ม ” ( Limbs ) ธนูราคาแพงมักจะใช้ไม้ลามิเนต ( ลองนึกถึงภาพไม้อัดก่อสร้าง ฯลฯ ) ซึ่งมีเนื้อไม้หลากชนิดอัดมาในหลาย ๆ ชั้นเพื่อทำให้เกิดกำลังและแรงดีดที่ดีกว่าไม้แผ่นเดียวตามลำพัง นั่นก็คือวิทยาการ ” ลามิเนชัน ” เดียวกันนี้เอง

 

ไม้ลานจึงจัดว่าเป็น ลามิเนชันตามธรรมชาติ โดยธรรมชาติชนิดหนึ่ง

” ชายชรา ” ท่านนั้นมองเห็นสิ่งที่ผู้อื่นมองข้าม ” ไม้ลาน ” ในจุดนี้

 

 

War bow ในสภาพสมบูรณ์จากเรือ Marry rose

( ขอบคุณภาพโดยได้รับอนุญาตจาก maryrose.org )

 

มีธนูต่างประเทศอันมีชื่อเสียงโ่ด่งดังนามว่า War Bow ซึ่งก็คือธนูที่ใช้ในการสงครามยุคสมัยโบราณของสหราชอาณาจักรหรือที่เราเรียกจนคุ้นหูว่าประเทศอังกฤษ เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญซึ่งกู้ขึ้นมาจากเรือโบราณ The Mary Rose ที่จมอยู่ในมหาสมุทรมาหลายร้อยปี ( สมัยพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 ซึ่งตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พ.ศ. 2034-2072) แห่งอาณาจักรอยุธยา )

 

 ภาพเรือ Marry Rose กำลังอับปางในสงครามอังกฤษ – ฝรั่งเศส ราว ๆ 500 ปีก่อน

( ขอบคุณภาพโดยได้รับอนุญาตจาก maryrose.org )

©Geoff Hunt, PPRSMA

 

ธนู War Bow นี้ขึ้นชื่อลือเลื่องในเรื่องของความแรง โดยเฉพาะแรงดึงที่คาดกันว่าเป็นระดับ 80 – 160 ปอนด์ ! นักธนูในปัจจุบันไม่มีใครสามารถทำการยิงธนู  ( ที่ทำเลียนแบบขึ้นมาใหม่ ) ได้เกิน 6 ลูกต่อวัน เพราะว่ามันมีแรงดึงหนักมากนั่นเอง ผิดกับนักรบโบราณที่คาดกันว่าน่าจะมีร่างกายสูงใหญ่และมีความแข็งแรงมากกว่าผู้คนในปัจจุบัน

สาเหตุที่ธนู War Bow นี้มีแรงดึงอันเหลือเชื่อก็มาจากสภาพไม้ที่มีลักษณะ ลามิเนชัน ตามธรรมชาติ คล้ายคลึงกับที่พบได้ในธนูไม้ลานคุณพ่อพิชัย ต่างกันตรงที่ว่า War Bow มีลามิเนชันเฉพาะส่วนที่เป็นตาไม้ แต่ธนูไม้ลานเป็น ลามิเนชัน ตลอดทั้งคันเลยทีเดียว !

 

คนเลือกเกิดไม่ได้.. ไม้มันก็เลือกเกิดไม่ได้เหมือนกัน !

 

ด้วยความที่มันมีหนามแหลมคม ต้นลานบางต้นเกิดและโตท่ามกลางป่าลึก ใบและก้านของมันเบียดเสียดยัดเยียดกัน บางต้นบางก้าน หนามแหลมคมของมันจิกแทะกันเอง จนผิวของพวกมันเป็นแผลเหวอะหวะ ดูพิกลพิกาล แต่ด้วยความที่มันเป็นไม้ป่า ซึ่งแม้ผิวจะเหมือนถูกสัตว์มีเขี้ยวเล็บกัดแทะ พวกมันกลับสร้างแรงดีดให้กับธนูของ “ชายชรา” อย่างยอดเยี่ยม ดีกว่าไม้อ่อน ๆ ที่ปราศจากมลทินริ้วรอยใด ๆ อย่างมีนัยสำคัญ

กว่าจะฝ่าบุกป่าฝ่าดงหนามเข้าไปเอาไม้มาได้ กว่าจะตัด ผ่า เลาะ เอาหนามและเสี้ยนแหลมอันคมกริปของพวกมัน ออกไปได้

“ชายชรา” ผู้นี้จึงไม่เคยลังเลเลย ที่จะใช้ไม้ซึ่งมีริ้วรอยเหล่านั้น.. มาทำเป็น ” ธนู “

 

ด้วยความทรงพลัง มนต์เสน่ห์ ความเข้มขลังของมัน

ด้วยเพราะลูกที่พุ่งแรง และไปได้ไกล จากธนูที่ใช้พวกมันมาทำ

เราจึงได้ยินคำกล่าวของชายชราท่านนี้อยู่เสมอว่า

” ไม้ลาน ” คือราชาของไม้ที่ใช้ทำ ” ธนู “

 

อ่านบทความก่อนหน้า คลิกที่นี่

 

ดูธนูไม้ลานแบบต่างๆ คลิกที่นี่

 

>>>————-> สั่งซื้อออนไลน์ คลิกที่นี่

 

” ถนัดสอย “

13 เมษายน 2563

 

ภาพธนู War Bow และภาพเรือ The Mary Rose ©Geoff Hunt, PPRSMA โดยได้รับอนุญาตจากพิพิธภัณฑ์ The Mary Rose – maryrose.org , Portsmount , United Kingdom.